วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2555

การจัดการมรดก

  การเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องธรรมดาครับ  และตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตายกฎหมายก็เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตเรา  ก็อย่างที่รู้กันนะครับว่าคนตายไม่อาจเอาทรัพย์สินติดตัวไปได้ เมื่อมีคนตายหากเราเป็นทายาทของผู้ตาย  เราก็ต้องดำเนินการจัดการมรดกให้กับผู้ตาย  โดยผู้ที่จะจัดการมรดกได้นั้นต้องมีคำสั่งศาลแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกก่อน
   ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก ได้แก่
   1.  ผู้สืบสันดาน (ลูก หลาน เหลน ลื่อ)
   2. บิดา มารดา
   3. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
   4. พี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน
   5. ปู่ ย่า ตา ยาย
   6. ลุง ป้า น้า อา
   ถ้าผู้สืบสันดานยังมีชีวิตอยู่ ทายาทลำดับอื่นๆก็หมดสิทธิรับมรดกครับ (เรียงตามลำดับครับ) ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1629 และมาตรา 1630
   การร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกนั้นทายาทตามลำดับข้างต้นหรือผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกหรือพนักงานอัยการเท่านั้นเป็นผู้มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาล  เมื่อมีการตั้งผู้จัดการมรดกแล้วผู้จัดการมรดกก็จะเป็นผู้ดำเนินการแบ่งทรัพย์มรดกของผู้ตายให้กับทายาทอื่นครับ  ทั้งนี้การร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกนั้นต้องได้รับความยินยอมจากทายาทด้วยครับ ฉะนั้นหากเราไม่ได้ให้ความยินยอมในการร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว เราก็สามารถร้องคัดค้านคำร้องขอจัดการมรดกดังกล่าวได้ครับ

วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2555

การกู้ยืมเงิน

   ด้วยภาวะเศรษฐกิจหรือด้วยความจำเป็นหลายๆประการในปัจจุบัน ทำให้เราๆท่านๆมีความจำเป็นต้องใช้เงินกันมากขึ้น  หรืออาจจะใช้เงินเท่าเดิมแต่ว่ารายจ่ายกลับเพิ่มมากขึ้น  เมื่อหมุนเงินไม่ทันทางเลือกหนึ่งของเราก็คือการยืมเงินของคนอื่นหรือบางท่านซึ่งมีฐานะร่ำรวยก็อาจให้ผู้อื่นกู้แล้วคิดดอกเบี้ย   แต่ท่านทราบไหมครับว่าการกู้ยืมเงินนั้นบางครั้งผู้ให้กู้กลับไม่มีสิทธิฟ้องร้องเรียกเงินคืน ซึ่งผมจะได้เล่าให้ฟังดังนี้ครับ
   การกู้ยืมเงินมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่ท่านควรรับทราบคือ ประมวลกฎหมายเเพ่งและพาณิชย์     มาตรา 653  ซึงกำหนดหลักเกณฑ์การกู้ยืมเงินแบ่งเป็น 2 กรณี คือ
   1. การกู้ยืมเงินจำนวนไม่เกิน 2,000 บาท กรณีดังกล่าวไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานการกู้ยืมเงินก็สามารถฟ้องร้องบังคับคดีกันได้
   2. การกู้ยืมเงินจำนวนเกิน 2,000 บาทคือตั้งแต่ 2,001 บาทเป็นต้นไปกฎหมายบังคับให้ต้องมีหลักฐานการกู้ยืมเงิน ลงลายมือชื่อผู้ยืม จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้    ส่วนผู้ให้กู้ไม่จำเป็นต้องลงชื่อก็ได้ครับ
   การที่กฎหมายกำหนดให้การกู้เงินจำนวนมากต้องมีหลักฐานการกู้ยืมจึงจะฟ้องร้องได้ แต่เงินจำนวนน้อยไม่จำต้องมีหลักฐานการกู้ยืมเงินก็สามารถฟ้องร้องได้นั้น  ฟังดูอาจจะแปลกๆ แต่กฎหมายเล็งเห็นว่าคนเราถ้ายืมเงินกันเล็กๆน้อยๆ ก็คงมิได้ใส่ใจอะไรมากมายแค่ยื่นเงินให้ก็สิ้นเรื่อง  แต่พอเงินมีจำนวนมากตามปกติคนเราก็ต้องมีความกังวลว่าจะได้เงินคืนหรือไม่   ซึ่งหากพิจารณาดูจากปกติของคนแล้วก็ย่อมจะทำสัญญากันไว้(กันชักดาบนั่นเอง)
   ในการกู้ยืมเงินนั้นผู้ให้กู้ยืมส่วนมากก็คงคิดดอกเบี้ยกัน และกฎหมายก็กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ให้คิดได้ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงิน แต่อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวใช้ไม่ได้กับการกู้เงินของธนาคารนะครับ ใช้บังคับได้ระหว่างเราๆท่านๆ เท่านั้นครับ  (ไม่งั้นธนาคารเขาคงไม่รวยว่าไหมครับ ฮ่าฮ่า) และบางกรณีแม้เราไม่ได้กำหนดดอกเบี้ยกันไว้   กฎหมายก็คิดดอกเบี้ยให้นะ  แต่ต้องเป็นกรณีที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้เรา ซึ่งกฎหมายให้เราคิดดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี  ของต้นเงินที่ให้กู้ยืม

   อย่างไรก็ตามผมแนะนำให้ทำสัญญากู้เงินกันไว้ดีกว่าครับ เมื่อเกิดอะไรขึ้นจะได้ง่ายต่อการพิสูจน์ครับ

วันเสาร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2555

การซื้อขาย

   การซื้อขาย   เป็นสิ่งที่เราๆท่านๆ   ต้องเกี่ยวข้องกันอยู่ทุกวัน    เพราะเราใช้เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้ามานานแล้ว  และการซื้อขายสินค้าแต่ละอย่างนั้นกฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ไว้แตกต่างกัน  โดยกฎหมายแยกประเภทของทรัพย์สิน หรือสินค้าที่เราต้องการซื้อออกเป็น   2    ประเภทหลัก  อันได้แก่ อสังหาริมทรัพย์ และ สังหาริมทรัพย์ โดยการซื้อขายทรัพย์สินทั้ง 2 ประเภทนี้มีข้อแตกต่างที่ควรรับทราบดังต่อไปนี้
   1. การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์
   อสังหาริมทรัพย์  คือ ที่ดินและทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินซึ่งมีลักษณะถาว  ร เช่น  บ้าน   และสิ่งปลูกสร้าง ต่างๆ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 139)     เนื่องจากอสังหาริมทรัพย์เป็นทรัพย์ที่มีมูลค่าสูง การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์จึงต้องมีขั้นตอนมากกว่าสังหาริมทรัพย์กล่าวคือ การซื้อขายแต่ละครั้งต้อง 1. ทำเป็นหนังสือ และ 2. จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่  (มาตรา 456)  หากไม่ดำเนินการให้ครบทั้งสองขั้นตอนการซื้อขายจะใช้ไม่ได้หรือที่เรียกกันว่าเป็นโมฆะนั่นเอง   เมื่อการซื้อขายเป็นโมฆะแล้วทั้งฝ่ายผู้ซื้อและผู้ขายต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม   พูดง่ายๆก็คือ  ผู้ซื้อไม่สามารถเรียกร้องเอาอสังหาริมทรัพย์จากผู้ขาย  และผู้ขายก็ไม่อาจเรียกร้องเอาเงินจากผู้ซื้อเช่นเดียวกัน
   3. การซื้อขายสังหาริมทรัพย์
   สังหาริมทรัพย์  คือ  ทรัพย์อื่นๆนอกจาอสังหาริมทรัพย์  (มาตรา 140)     กล่าวคือเป็นทรัพย์ที่ไม่ใช่ที่ดินไม่ใช่ทรัพย์ที่ติดอยู่กับที่ดินเป็นการถาวร พูดง่ายๆก็คือ ทรัพย์เล็กๆน้อยๆที่สามารถเคลื่อนย้ายได้โดยง่ายเช่น โต๊ะ เก้าอี้ รถยนต์ เป็นต้น    สำหรับการซื้อขายสังหาริมทรัพย์นั้นไม่มีข้อยุ่งยากอะไร เพียงแค่ส่งมอบและชำระเงินก็เป็นอันเสร็จสิ้น     ไม่ต้องดำเนินการจดทะเบียนหรือทำเป็นหนังสือแต่อย่างใด แต่มีข้อควรระวัง คือ การซื้อขายสังหาริมทรัพย์ที่มีราคาตั้งแต่   20,000   บาทขึ้นไปนั้  นหากไม่ได้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีกับคู่สัญญาได้
   1. มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ
   2. วางประจำ(มัดจำ)ไว้
   3. ชำระหนี้บางส่วน  (มาตรา 456 วรรคท้าย)