วันเสาร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2555

การซื้อขาย

   การซื้อขาย   เป็นสิ่งที่เราๆท่านๆ   ต้องเกี่ยวข้องกันอยู่ทุกวัน    เพราะเราใช้เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้ามานานแล้ว  และการซื้อขายสินค้าแต่ละอย่างนั้นกฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ไว้แตกต่างกัน  โดยกฎหมายแยกประเภทของทรัพย์สิน หรือสินค้าที่เราต้องการซื้อออกเป็น   2    ประเภทหลัก  อันได้แก่ อสังหาริมทรัพย์ และ สังหาริมทรัพย์ โดยการซื้อขายทรัพย์สินทั้ง 2 ประเภทนี้มีข้อแตกต่างที่ควรรับทราบดังต่อไปนี้
   1. การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์
   อสังหาริมทรัพย์  คือ ที่ดินและทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินซึ่งมีลักษณะถาว  ร เช่น  บ้าน   และสิ่งปลูกสร้าง ต่างๆ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 139)     เนื่องจากอสังหาริมทรัพย์เป็นทรัพย์ที่มีมูลค่าสูง การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์จึงต้องมีขั้นตอนมากกว่าสังหาริมทรัพย์กล่าวคือ การซื้อขายแต่ละครั้งต้อง 1. ทำเป็นหนังสือ และ 2. จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่  (มาตรา 456)  หากไม่ดำเนินการให้ครบทั้งสองขั้นตอนการซื้อขายจะใช้ไม่ได้หรือที่เรียกกันว่าเป็นโมฆะนั่นเอง   เมื่อการซื้อขายเป็นโมฆะแล้วทั้งฝ่ายผู้ซื้อและผู้ขายต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม   พูดง่ายๆก็คือ  ผู้ซื้อไม่สามารถเรียกร้องเอาอสังหาริมทรัพย์จากผู้ขาย  และผู้ขายก็ไม่อาจเรียกร้องเอาเงินจากผู้ซื้อเช่นเดียวกัน
   3. การซื้อขายสังหาริมทรัพย์
   สังหาริมทรัพย์  คือ  ทรัพย์อื่นๆนอกจาอสังหาริมทรัพย์  (มาตรา 140)     กล่าวคือเป็นทรัพย์ที่ไม่ใช่ที่ดินไม่ใช่ทรัพย์ที่ติดอยู่กับที่ดินเป็นการถาวร พูดง่ายๆก็คือ ทรัพย์เล็กๆน้อยๆที่สามารถเคลื่อนย้ายได้โดยง่ายเช่น โต๊ะ เก้าอี้ รถยนต์ เป็นต้น    สำหรับการซื้อขายสังหาริมทรัพย์นั้นไม่มีข้อยุ่งยากอะไร เพียงแค่ส่งมอบและชำระเงินก็เป็นอันเสร็จสิ้น     ไม่ต้องดำเนินการจดทะเบียนหรือทำเป็นหนังสือแต่อย่างใด แต่มีข้อควรระวัง คือ การซื้อขายสังหาริมทรัพย์ที่มีราคาตั้งแต่   20,000   บาทขึ้นไปนั้  นหากไม่ได้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีกับคู่สัญญาได้
   1. มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ
   2. วางประจำ(มัดจำ)ไว้
   3. ชำระหนี้บางส่วน  (มาตรา 456 วรรคท้าย)

   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น